รูปภาพ เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เราต้องมีไว้บนเว็บไซต์ (และ News Feed) ของเรา ถ้าเราไม่ได้ถ่ายรูปเอง หรือ ทำกราฟฟิกขึ้นมาเอง จะไป Copy จากเว็บอื่นมาไว้มันทำไม่ได้แล้ว จากเมื่อก่อนที่ยังพอมีการอะลุ่มอล่วยกัน แต่ความจริงมันทำไม่ได้ในเชิงพาณิชย์ เพราะว่าคนที่เขาถ่ายไว้เขามีต้นทุนของเขา
และการซื้อภาพ ในสมัยนี้ก็ไม่ได้แพงจนจับต้องไม่ได้ บางเว็บไซต์ตกรูปละ 3 บาท ก็มี (ถ้าเราไม่ได้เน้นคุณภาพมาก) แต่ถ้าเราต้องการภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาหน่อย ราคาก็เขยิบมาเป็นรูปละ 30 บาทขึ้นไป
สมมติคุณจะซื้อรูปเอง ก็กำหนดงบประมาณไว้คร่าวๆ ได้
ถ้าในเว็บไซต์มี 30 บทความ ใช้ภาพประกอบ 1 รูป ก็จะใช้ภาพ 30 ภาพ แต่ถ้าใช้ภาพประกอบบทความละ 2 รูป ก็ใช้ 60 ภาพ
เว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดภาพ เช่น
Getty Image / Shutterstock : ลักษณะภาพจะเป็นฝรั่ง เหมาะสำหรับงานทุกประเภท แต่ถ้าจะหาภาพสไตล์เอเชียหน่อยก็ต้องใส่คีย์เวิร์ดค้นหาที่ค่อนข้างละเอียด
123rf : ภาพถ่ายทั่วไป ราคาถูกกว่าสองเว็บข้างบน
Clashot : เป็นภาพที่ถ่ายจากสมาร์ทโฟน มีช่างภาพจากทั่วโลก ลักษณะภาพจะเป็นภาพชีวิตประจำวัน ภาพถ่ายเล่นๆ มุมสนุกๆ
ทำไมเราจึงไม่สามารถใช้รูปจากคนอื่นได้อีกแล้ว
เมื่อ ก่อนเราอาจเคยค้นหาภาพจากกูเกิ้ล และนำภาพมาใช้บนงาน ในพรีเซนต์ส่งอาจารย์ ในพรีเซนต์ที่ประชุม แต่จะไม่สามารถใช้ในงานสิ่งพิมพ์ บิลบอร์ดและ เนื่องจากงานถ่ายภาพเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับงานเขียน งานประติมากรรม เพราะฉะนั้นเจ้าของภาพย่อมซีเรียสเมื่อคุณนำภาพของเขาไปใช้ในงานของคุณ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์หรือเว็บไซต์ที่นำภาพส่วนตัวจากเฟซบุ๊กของคนคนหนึ่งไปเผยแพร่ เขาได้ประโยชน์จากการขายข่าว แต่ไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของเฟซบุ๊ก ทำให้ภาพครอบครัวของเธอถูกเผยแพร่ออกไป เธอมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องอยู่แล้วแต่ ในสังคมไทย มีช่องว่างเรื่องนี้อยู่ หากเป็นภาพดีๆ เผยแพร่ออกไปแล้วดัง มีภาพลักษณ์ทางบวก จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร (เคลียร์กันได้) แต่ถ้าเป็นภาพที่เผยแพร่ออกแล้วเป็นลบ หรือมีมูลค่า เจ้าของภาพก็เรียกร้องได้
ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์ เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี ศิลปะ งานเขียน คลิปวิดีโอ งานกราฟฟิก ฯลฯ โดยเป็นของเจ้าของที่คิดและออกแบบตั้งแต่ที่สร้างและผลิตผลงานออกมา โดยไม่ต้องไปจดทะเบียน (หรือจะจดก็ได้) โดยจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เมื่อมีคนนำไปทำตาม เผยแพร่ ขาย คุณก็สามารถเรียกร้องได้
ถ้าเราไปจ้างคนทำเว็บแล้วเราไม่ได้เป็นคนหารูปเหล่านั้น ..ใครผิด?
ตาม กฎหมาย เราผิด ซึ่งถ้าเราเป็นเจ้าของเว็บนั้น เราผิด และเป็นเรื่องของกฎหมายซึ่งเราจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ด้วย ดังนั้นเราควรตรวจสอบงานก่อน ถามอย่างเดียวไม่พอ ต้องขอดูใบเสร็จและต้นทางว่าคนออกแบบเว็บให้เราไปเอารูปมาจากไหน ต้องเช็คให้ดีเพราะสุดท้ายแล้วเราเองจะเป็นคนโดนฟ้อง
สุด ท้ายนี้การถ่ายรูปเองหรือจ้างคนออกแบบกราฟฟิกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะรูปเป็นของเรา เราสร้างผลงานนั้นมา แต่ถ้าหากเราไม่ได้มีฝีมือในทางนั้น การจ้างช่างภาพ จ้างนักออกแบบ หรือซื้อภาพ ก็เป็นทางออกที่ไม่ยากเกินไป
4 Comments