• สหรัฐอเมริกาส่งคืนประติมากรรม Golden Boy ซึ่งเป็นรูปปั้นสำริดขนาดความสูง 129 เซนติเมตร คืนแก่ประเทศไทย ในวันที่ 20 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา หลังจากพบว่าจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ The Metropolitan Museum of Art เป็นเวลาหลายปี
  • ผู้ยืนยันได้ว่ารูปปั้น Golden Boy เป็นของประเทศไทย คือชาวบ้านยางโป่งสะเดา ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์การขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2517 ยังมีชีวิตอยู่หลายคน โดยเฉพาะลูกสาวของผู้ขุดพบ
  • ผู้ขุดพบยืนยันว่ามีอัญมณีฝังอยู่กับรูปปั้น Golden Boy หายไปจำนวน 5 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นอัญมณีที่ยากจะประเมินค่า

สวัสดีเพื่อนๆ ผู้สนใจศิลปะแอนทีคที่มาพบกับบทความนี้ครับ วันนี้ Mycontent-Thai.com พามาฟังเรื่องราวการส่งมอบรูปปั้นสำริด Golden Boy จากอเมริกาสู่ไทย ซึ่งถกเถียงกันอยู่ว่าเขาเป็นใคร ระหว่างพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือองค์พระศิวะ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นมรดกของประเทศไทยอย่างแน่นอน

รูปปั้นประติมากรรม Golden Boy ความสูง 129 เซนติเมตร

รูปปั้น Golden Boy ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2517 โดยชาวบ้านยางโป่งสะเดา ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสามีภรรยาคู่หนึ่งที่ขุดค้นพบวัตถุโบราณในที่ดินของตนเอง และลูกสาวของสามีภรรยาคู่นี้คือหลักฐานบุคคลที่ยืนยันได้ว่ารูปปั้น Golden Boy เคยอยู่บนแผ่นดินไทยมาก่อน

หากเราได้ฟังเรื่องราวการขุดค้นพบวัตถุโบราณในไทยกันมาบ้าง คงเคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่ติดตามมาด้วย ใครได้ครอบครองสมบัติชาติที่ไม่ใช่ของตนเอง ก็มักล้วนเจอเรื่องราวแปลกๆ จนสุดท้ายต้องเอาสิ่งของเหล่านั้นมาคืน แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องเล่าและความเชื่อครับ

นักวิชาการไทยได้ทำเรื่องขอวัตถุโบราณชิ้นนี้คืน โดยใช้หลักฐานบุลคล จากที่มีผู้พบ Golden Boy จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ The Metropolitan Museum of Art สหรัฐอเมริกา ซึ่งหากวัตถุโบราณชิ้นไหนไม่มีหลักฐานการครอบครองอย่างสุจริต เมื่อมีผู้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าของได้ ทางอเมริกาก็จะส่งคืน

ชาวบ้านที่เป็นผู้ขุดค้นพบได้เล่าว่า หลังจากพบก็ขายวัตถุโบราณชิ้นนี้ให้แก่นักค้าขายวัตถุโบราณต่างชาติ ในราคา 1.2 ล้านบาท ซึ่งภายหลักปรากฎภาพและรายละเอียดของ Golden Boy อยู่ในหนังสือที่เขียนโดย ดักลาส แลตช์ฟอร์ด (Douglas A.J. Latchford) นายหน้าค้าโบราณวัตถุ นำออกนอกประเทศ

การคืน Golden Boy กลับสู่ประเทศไทย

ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบวัตถุโบราณต่างๆ เพื่อส่งคืนกับเจ้าของตัวจริงมานานแล้ว

Golden Boy คือใคร

เว็บไซต์กรมศิลปากร คาดว่ารูปปั้นประติมากรรม Golden Boy เป็นองค์พระศิวะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการบางส่วนออกมาบอกว่าน่าจะเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เพราะดูเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากกว่าทางพราหมณ์

ในยุคที่กฎหมายการขุดค้นวัตถุโบราณยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ชาวบ้านที่พบข้าวของเครื่องใช้โบราณต่างๆ ก็มักส่งไปขายตามแหล่งนักค้าวัตถุโบราณ อย่างกรณีของ Golden Boy ที่เป็นรูปปั้นทำมาจากสำริด ขนาดเกือบเท่ามนุษย์นี้ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างไรก็ยากที่จะอธิบาย เพราะได้ผิดแผกไปจากเดิมมากแล้ว

หลักฐานสำคัญที่ทำให้ได้วัตถุโบราณ รูปปั้น Golden Boy กลับคืนมา ก็คือนักวิชาการได้สืบจนเจอกับชาวบ้านที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ขุดค้นพบ Golden Boy โดยเป็นลูกสาวของผู้ขุดรูปปั้นนี้ขึ้นมา และเธอก็เป็นผู้ขัดเศษดินต่างๆ ออกจากรูปปั้น ภายหลังที่ครอบครัวได้ขายรูปปั้น Golden Boy แก่นักค้าวัตถุโบราณชาวต่างชาติแล้ว ก็ได้นำเงินส่วนหนึ่งมาเลี้ยงฉลองคนในหมู่บ้าน 3 วัน จึงยิ่งทำให้มีพยานบุคคลที่ทราบเรื่องการขุดพบ Golden Boy ในเขตประเทศไทยได้มากขึ้น

ลูกสาวของผู้ขุดค้นพบ Golden Boy ได้พูดถึงตำหนิที่เชิงหน้านางของชายผ้าบนรูปปั้น บิดาของเธอจึงใช้ลวดดามไว้ ตรงกับตำหนิที่พบบน Golden Boy และเธอเล่าว่ามีอัญมณีที่ประดับองค์หายไป 5 จุด ได้แก่

  1. มงกุฎ ทำมาจากเพชร
  2. ลูกตา ทำมาจากเพชร
  3. สร้อยสังวาลย์ทำมาจากนิล
  4. กำไลแขนทำมาจากเพชร
  5. เข็มขัดเพชรและนิล

ซึ่งฟังจากคำบอกเล่านี้ เงิน 1.2 ล้านที่ขายไป แลกมาไม่ได้กับการส่งคืนครั้งนี้ เพราะอัญมณีต่างๆ หากเป็นของแท้ก็เป็นสิ่งของที่มีราคาสูงประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียว

หาก Golden Boy คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6

ทางประเทศกัมพูชาก็มีการทวงคืนวัตถุโบราณที่ค้นพบอยู่ในสหรัฐอเมริกาอยู่ตลอด เห็นได้ชัดว่าในอดีตมีชาวต่างชาติมาซื้อขายวัตถุโบราณในภูมิภาคนี้อยู่มาก ซึ่งเขาล่วงรู้มูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่ประดับอยู่

หากยืนยันได้ว่า Golden Boy คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ผู้เป็นบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ยืนยันได้ว่าครั้งหนึ่งอาณาจักรขอมมีจุดกำเนิดอยู่ในประเทศไทย ทางโซนพนมรุ้ง บุรีรัมย์ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งก็พูดยากเพราะคนแถบนี้มีชนชาติเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันมาก

สิ่งที่น่าสนใจในรูปปั้น Golden Boy

แม้ว่าของมีค่าอย่างเพชร นิล ที่ประดับอยู่บนประติมากรรมชิ้นนี้จะหายสาบสูญไปอย่างที่ไม่มีวันเก็บกลับมาได้ครบ แต่สิ่งที่หลงเหลือให้เราได้ศึกษาอยู่ ก็คือเครื่องแต่งกายของ Golden Boy ที่มีการนุ่งผ้าซิ่นขาสั้น และมีหลักฐานว่าวัตถุประสงค์การสร้างขึ้นมาน่าจะเฉลิมฉลององค์บุคคล ผู้เป็นชนชั้นสูงของอาณาจักรเป็นแน่

โดยเฉพาะการนุ่งผ้านุ่ง บ่งบอกได้ว่าผู้ชายที่มีฐานะในสมัยก่อนจะนุ่งทรงสั้น เพื่อความกระฉับกระเฉงในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นต้นฉบับการสวมใส่ผ้าไทย อันมีต้นกำเนิดส่วนหนึ่งจากแหล่งทอเดียวกันกับชาติพันธุเขมร เมื่อได้ Golden Boy กลับมาแล้วก็มีครีเอเตอร์ได้ Golden Boy ผู้สนใจแต่งกายนุ่งซิ่นแบบรูปปั้นนี้อีกด้วย

ภาพจากเว็บไซต์กรมศิลปากร

ที่มา​ : 

1. จากปากคนขุด “Golden Boy” ดีใจ กลับคืนไทย ตกใจ เครื่องเพชร 5 จุดหายเกลี้ยง., https://www.komchadluek.net/news/general-news/575048

2. กรมศิลปากรเปิดให้ประชาชนเข้าชมความงามของประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling)., https://www.finearts.go.th/promotion/view/49570-กรมศิลปากรเปิดให้ประชาชนเข้าชมความงามของประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ–Golden-Boy–และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ–The-Kneeling-

Read More :

Leave a comment

Trending