ภู่กันของสง่า มะยุระ สุดยอดเรื่องราวคอนเทนท์ระดับตำนาน

เรื่องมีอยู่ว่า ขณะที่ร้านค้าต่าง ๆ ปิดเร็วขึ้นเพื่อป้องกันโควิด-19 น้องชายต้องการซื้อ “ภู่กัน” ในหมู่บ้านเนื่องจากห้างไม่เปิด ก็เลยกลายเป็นเรื่องชวนหัวที่ว่าเวลาแบบนี้จะไปหาภู่กันมาจากไหน ?

เมื่อถึงถึงภู่กัน เรามักจะนึกถึงยี่ห้อเดียวที่มีด้ามเป็นพลาสติกสีเนื้อ และมีหลาย ๆ เบอร์ให้เลือกอย่าง “สง่า มะยุระ” ซึ่งแบรนด์นี้เราพบเห็นกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเป็นภู่กันที่ใช้ดีคุ้มค่าคุ้มราคามากทีเดียว จะว่าดีกว่ายี่ห้อที่นำเข้าก็ไม่ได้เพราะไม่เคยมีตังค์ได้ซื้อยี่ห้อต่างประเทศเลย และไม่ว่ากี่ปี ๆ ที่ภู่กันหมดอายุต้องซื้อใหม่ ก็ต้องย้อนกลับมาใช้ “สง่า มะยุระ” อยู่ดี จนคิดว่ามันน่าจะเป็นแบรนด์ภู่กันของคุณลุงสักคนที่ชื่นชอบเกี่ยวกับการวาดภาพสีน้ำสินะ ถึงได้เข้าใจรายละเอียดของพู่กันขนาดนี้

ภู่กันของสง่า มะยุร

 

เอกลักษณ์ของภู่กันแบรนด์นี้ จะมีขนที่จิกเนื้อสีออกมาได้พอประมาณ และซึมซับสีน้ำได้ดี (ส่วนสีน้ำมันผู้เขียนไม่ค่อยได้ใช้เลยลงรายละเอียดได้ไม่มาก) ล้างง่ายในน้ำสบู่ จับง่ายถนัดมือ เพราะมีส่วนเว้าส่วนโค้งตามเบอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเรามักจะพบเห็นมาในกล่องแพ็คเกจแบบนี้ในร้านค้าต่าง ๆ

ภู่กันของสง่า มะยุระ

เมื่อศึกษาไปยังเจ้าของแบรนด์ พบว่า ไม่ใช่แค่เป็นลุงที่ชอบการวาดสีน้ำ แต่ท่านเป็นศิลปินที่วาดภาพสีน้ำ สีน้ำมัน และเชี่ยวชาญด้านการบูรณะจิตรกรรมโบราณอีกด้วย ชื่อของ “สง่า มะยุระ” ได้ปรากฎบนผืนผนังวัดพระแก้วในภาพวาดต่าง ๆ ที่คุณควรสังเกต


“สง่า มะยุระ” ไม่ใช่แค่ชื่อแบรนด์ แต่เป็นบุคคล

ภู่กันยี่ห้อนี้มีตำนานและที่มาในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 – 7 โดยคุณสง่า มะยุระ ที่เคยเป็นลูกมือของหลวงจิตรยง ซึ่งเป็นช่างเขียนภาพที่ได้รับงานเกี่ยวกับการเขียนลายสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จนกระทั่งคุณสง่าได้บวชเรียนที่วัดสุวรรณาราม ธนบุรี ได้มีโอกาสเข้าไปเขียนภาพที่ผนังวัดพระแก้ว หลังจากนั้นคุณลุงก็ได้รับงานยาว ๆ เลย

หลังจากลาสึก คุณสง่าก็ได้เปิดร้านขายเครื่องดื่มที่หลังโรงพยาบาลศิริราช และได้เข้าทำงานสายช่างเขียน หลังจากนั้นก็ได้ลาออกมาทำงานโรงพิมพ์ชื่อบุญครอง (ไม่น่าจะใช่มาบุญครองนะ)

หลังจากแต่งงานคุณสง่าก็สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยการทำภู่กันขาย โดยการปรับแต่งให้มีลักษณะที่ใช้งานได้ดีตามประสบการณ์ของตน และกลายเป็นโรงงานทำภู่กันแห่งแรกและแห่งเดียวของไทยในเวลานั้น

คุณสง่าได้กลับเข้ามาทำงานบูรณะภาพเขียนบนฝาผนังวัดพระแก้วอีกครั้งเมื่อคราวที่ชำรุดเสียหายมาก ตอนนั้นท่านก็อายุมากแล้ว และคนที่มาเที่ยววัดพระแก้วมักจะเห็นคุณตาปีนนั่งร้านวาดภาพอยู่เงียบ ๆ คนเดียว บางวันที่อากาศร้อนแกก็ถอดเสื้อ (ภาพวาดอยู่ด้านนอกอาคารก็มี) ทำให้คนแถวนั้นรู้จักแกดี

ผลงานของคุณ สง่า มะยุระ มีเยอะมาก ต้องให้ลูกหลานท่านมาเล่า แต่ความพีคอยู่ที่ ค่าจ้างวาดบูรณะภาพที่วัดพระแก้ว รายได้ส่วนนี้ท่านนำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในงานพระราชกุศลต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นคุณค่าของงานศิลปะแขนงจิตรกรรมว่าสูงค่าเกินกว่าที่คุณสง่าจะรับไว้

และความละเอียดอ่อน ในงานศิลป์นี้ก็ส่งให้ท่านได้เปิดร้านภู่กันที่คุณภาพดีได้ จนเด็ก ๆ และช่างเขียนหลายคนยังใช้กันถึงทุกวันนี้ ไม่ต้องนับเป็นตัวเลขว่าครอบครัวท่านจะมีรายได้จากการจำหน่ายภู่กันเพียงใด แต่มองเป็นการรักษาคุณค่างานศิลป์ ที่จะมีต่อไปอีกยาวนาน

สง่า มะยุระ (20 สิงหาคม พ.ศ. 2452 – 12 กันยายน พ.ศ. 2521)

 

ที่มา : เว็บไซต์เรือนไทย

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s