คำนวณจากการส่งประกันสังคมด้วย
สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มมีรายได้ ก็อาจจะสงสัยว่ามีรายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี ในบทความนี้แยกออกมาเป็น ระหว่าง ผู้ที่มีรายได้ผ่านเงินเดือนจากบริษัทเพียงอย่างเดียว (ใช้หักประกันสังคมมาลดหย่อนได้) กับผู้ที่เป้นเจ้าของกิจการต่าง ๆ ก่อนอื่นเรามาดูอัตราที่ต้องเสียภาษีของแต่ละคนกันก่อนดีกว่า
ตารางแสดงอัตราเสียภาษีตามรายได้
“พนักงานรายได้ประจำ” เงินเดือน 26,583.33 บาท ขึ้นไป ต้องเสียภาษี 5%
ถ้าเราเป็นพนักงานกินเดือนเดือน มีรายได้ที่เป็นเงินเดือนอย่างเดียว 15,000 บาท ยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ก็ต้องยื่นภาษีเพราะถือเป็นผู้มีเงินได้แล้ว แต่จะเริ่มเสียภาษีที่ฐานภาษี 5% ก็ต่อเมื่อคุณมีรายรับเป็นเงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท เป็นต้นไป โดยคำนวณจาก
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- เงินส่งสมทบประกันสังคมต่อปี 9,000 บาท
สมการก็จะเป็นดังนี้
”รายได้ที่ต้องเสียภาษี” – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 150,001
เพราะฉะนั้น รายได้ต่อปีที่ต้องเสียภาษี จะเป็น 319,000 บาท ซึ่งเมื่อหารด้วย 12 แล้ว จะเท่ากับ 26,583.33 บาท นี่ก็คือ “เงินเดือนขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษี”
“เจ้าของกิจการ” เงินเดือน 25,583.33 บาท ขึ้นไป ต้องเสียภาษี 5% ขึ้นไป
แต่หากเป็นเจ้าของกิจการ หรือ กลุ่มผู้มีรายได้แบบฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้ส่งเงินสมทบประกันสังคม ก็หัก 9,000 บาท ออกจากสมการข้างบน เมื่อคำนวณเบ็ดเสร็จแล้วก็จะได้เลข 25,583.33 ซึ่งเป็นรายได้ของกลุ่มอาชีพอิสระ หรือ เจ้าของกิจการที่ต้องเสียภาษี
มีรายได้ ต้องยื่นภาษี เสียหรือไม่เสียค่อยว่ากัน
ตามกฎหมายแล้ว บุคคลที่มีรายได้ แม้ว่าเป็นเด็กแรกเกิดที่รับงานถ่ายแบบแล้วก็ต้องจ่ายเงินภาษีให้กับสรรพากร เพราะถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทย และหากไม่พบการยื่น จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
ถ้าคุณไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท แต่รับรายได้ผ่านการจ่ายเงินจากบริษัทอะไรก็ตามที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่คุณ โดยทางบริษัทนั้นขอเลขบัตรประชาชนของคุณเพื่อไปยื่นทำเรื่องจ่ายเงินทางบัญชีของบริษัท ก็เท่ากับว่าสรรพากรมีข้อมูลรายรับของคุณผ่านระบบไปแล้ว หากคุณไม่ยื่นแสดงรายได้ ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- [รีวิว] วิธีการขอสินเชื่ออิออน อนุมัติเร็ว 30 นาที ปี 2019 เป็นต้นไป
- เงินมันเลือกอยู่กับคนขยัน เรื่องเล่าจากลุงแท็กซี่ ทษ 2477 ผ่อนเอง ถูกกว่าเช่า
- 10 เหตุผล ที่ยังคงต้องเป็นลูกจ้างคนอื่น
- เขียนหนังสือขาย Ebook 2018 – 2019 ยังง่ายอยู่ไหม? บอกแหล่ง 5 เว็บ ส่งอีบุ๊กขาย
ผู้เขียน : Mycontent-thai.com
6 Comments