เปิดร้านค้าออนไลน์ จะจดหรือไม่จดดี? ฟังคำตอบ
เดี๋ยวนี้มันเอ้าท์ไปแล้ว กับการหุ้นกับเพื่อนเปิดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เพราะว่าการเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มันทำให้คุณหาเงินได้คล่องตัวกว่า และการจดทะเบียนบริษัทนั้นมีข้อจำกัดว่าต้องมีทุนจดทะเบียนเป็นล้าน รวมถึงต้องทำงบการประชุมต่าง ๆ นานา และส่งบัญชีให้ตรวจสอบทุกเดือน เอกสารเยอะมาก หากไม่มั่นใจว่าร้านจะไปรุ่งหรือไปร่วง ก็สามารถจดทะเบียนร้านค้าแบบเจ้าของเดียวก่อนได้ (แล้วค่อย ๆ เขยิบ Step ต่อไปในอนาคตได้) วันนี้ Mycontent มีความจำเป็นจริง ๆ ที่ต้องเอาเรื่องราวของการจดทะเบียนการค้าแบบเจ้าของเดียวมาบอกให้คุณฟัง
เอกสารการขอจดทะเบียนพาณิชย์เจ้าของเดียว
ดาวนโหลดเอกสารจดทะเบียนพาณิชย์เจ้าของเดียวที่นี่
- แบบคำขอจดทะเบียน ทพ. (กรอกเฉพาะข้อ 1 ถึง 8)
- เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1 ใบ ต่อ 1 เว็บเท่านั้น
- หนังสือให้ใช้สถาที่
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นเป็นผู้จดให้
โดยภาพรวมแล้วเอกสารสำคัญที่ต้องมี ห้ามขาด ก็คือข้อ 1 – 5 รวมถึงสัญญาเช่ากรณีที่ต้องเช่าสถานที่เพื่อประกอบกิจการ และอย่าลืมวาดรูปแผนที่ไปด้วย แล้วก็ไปจดทะเบียนได้กับท้องถิ่นที่คุณอยู่อาศัย โดยคำว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนี้เราไปเจอเขาได้ที่ไหนบ้าง? มีคำตอบดังนี้
1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
2. สำนักงานเขตทุกเขต
3. เทศบาล
4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. เมืองพัทยา
แต่ถ้าเป็นกรุงเทพ ต้องไปที่ … (ถ้าเดินทางไม่ถูก สอบถามดูข้อมูลได้ที่ www.bangkok.go.th/finance )
(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
ค่าธรรมเนียม จดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดาเจ้าของเดียว
กรณีจดทะเบียนแล้ว ต้องการใช้เอกสารจดทะเบีนยไปเพื่อขอกู้กับธนาคารหรือติดต่อเรื่องอื่นใดที่ต้องใช้เอกสารอย่างเป็นทางการ ก็ต้องมาให้ทะเบียนท้องที่คัดสำเนาให้เช่นเดียวกับการจดจัดตั้งบริษัทนะจ้ะ
1) 50 บาท สำหรับการจดทะเบียนพาณิชย์จัดตั้งใหม่
2) 30 บาท หากต้องการคัดสำเนาการจดทะเบียน 1 ชุด
3) 30 บาท หากต้องออกใบแทนทะเบียนพาณิชย์
ใครบ้างที่ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดาเจ้าของเดียว
คือหากคุณอยากมีร้านค้าที่ดูน่าเชื่อถือ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเว็บไซต์ ก็สามารถจดทะเบียนพาณิชย์เจ้าของเดียวได้โดยมีเงื่อนไขที่เราสรุปมาจาก moc.go.th ดังนี้
- เป็นร้านค้า ที่จำหน่ายหรือให้บริการ 1 ใน 17 อย่าง ตามไฟล์นี้
- เป็นร้านที่มีรายได้จากการเปิดร้านค้า วันละ 20 บาท ขึ้นไป (อันนี้เขาไม่ได้บอกว่าเป็นกำไร หรือยอดขาย) หรือมีสต็อกสินค้า 500 บาท อยู่ในร้าน โดยไม่ว่าจะเป็นตัวแทนขาย หรือเป็นผู้ประกอบหัตถกรรม
- เปิดร้านมาแล้วกว่า 30 วัน (เท่ากับว่าต้องทำเว็บให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน 30 วันที่ไปจด โดยหากเป็น Market Place ก็ต้องขึ้นสินค้าให้หมดก่อน และหากเป็นบริการ ก็ต้องขึ้นวิธีซื้อขายบริการนั้นไว้ด้วย
ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของเดียว !
หากคุณคิดว่าจะเปิดเว็บไซต์ไว้ขายของ สินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือว่าจะเปิดจริงจัง หากต้องการที่จะมีภาษีที่ดีกว่า จะต้องไปจดทะเบียนอย่างเป็นทางการด้วย
มีภาษีดีกว่า >> ขอกู้สินเชื่อ SMEs เพื่อขยายกิจการได้
สินเชื่อ SMEs ของทุกธนาคาร มักจะขอดูใบทะเบียนพาณิชย์ แทบจะทุกธนาคาร เพื่อใช้ขอสินเชื่อธุรกิจ นอกจากนี้ หากเจ้าของกิจการจะขอบัตรเครดิต หรือขอสินเชื่ออื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้น
มีภาษีดีกว่า >> ได้รับสัญลักษณ์ DBD Register + Verified
ร้านค้าออนไลน์ที่มี 2 สัญลักษณ์นี้อยู่ในหน้าเว็บ จะเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพราะถือว่าได้รับการการันตีจากทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาแล้วขั้นหนึ่ง และหากลูกค้ามีปัญหาในการซื้อสินค้า ก็จะตามหาตัวร้านค้าได้ง่าย
วิธีการติดตั้งเครื่องหมาย DBD REGISTER / VERIFIED
คงไม่มีใครเล่าว่าจะติดตั้งเครื่องหมายนี้ได้อย่างไรดีไปกว่าทางต้นสังกัดเอง หากคุณจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วต้องการเอาเครื่องหมายนี้ไปวางบนเว็บไซต์ของคุณสวย ๆ เกร๋ ๆ ดูเป็นทางการแล้วล่ะก็ เข้าไปอ่านรายละเอียดวิธีการติดตั้งเครื่องหมาย DBD REGISTER / VERIFIED ได้ที่นี่
นอกจากนี้การจดทะเบียนพาณิชย์ แบบบุคคลธรรมดา หรือเจ้าของเดียวนี้ สร้างความคล่องตัวให้กับคนที่ต้องการค้าขายคนเดียว ไม่ต้องการตัวหารยุ่งยากเยอะ และยังส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วย เมื่อส่วนกลางของประเทศเรามีข้อมูลผู้ที่หารายได้ด้วยวิธีขายของ/บริการออนไลน์ได้ ก็จะนำข้อมูลไปพัฒนาระบบเพื่อช่วยเหลือ เจ้าของกิจการแนวนี้ได้ดีขึ้นไปอีก
ถือเป็นก้าวแรกของการเติบโตทีเดียว
คือฟังแล้วอยากจะรีบไปจดไว้หลาย ๆ เว็บ เลยนะ
ที่มาจาก : https://www.moc.go.th/index.php/moc-news-center-eng/item/42-269.html
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Mycontent
5 Comments