เส้นบางๆ ระหว่างการละเมิดลิขสิทธิ์
เรื่องที่จะนำมาเล่าในวันนี้เป็นเรื่องของแอดมินเอง ซึ่งเกิดจากการนำข้อความที่เขียนไว้ให้กับบริษัทหลัก ไป Copy Press ดัดแปลง ทำให้ผู้เขียนเอง ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง รู้สึกไม่โอเค ดังนี้
1. บริษัทคู่กรณีนำไปอ้างอิง 2 เว็บไซต์
- 1.1 ) เว็บไซต์แรกมีการ Rewrite เขียนใหม่ (ยกเว้นพาดหัว ที่มีลักษณะ Copy หัวข้อ ไปเติม – Link กลับมาที่หน้าเว็บ Homepage แต่ไม่ได้ลิ้งค์กลับมาที่ต้นฉบับ
- 1.2 ) เว็บไซต์ที่ 2 มีการ Copy เนื้อหาเกิน 70 % และเติมคำเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถือเป็นการเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ – Link กลับมาที่ต้นฉบับ
2. บริษัทคู่กรณีนำไปออกอากาศ รายการโทรทัศน์
สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนทุ่วไปนึกว่าเป็นกฎหมาย Creative Commons ที่ใส่ Link อ้างอิงไปให้เจ้าของบทความแล้วก็จบ คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ใครๆ ก็ทำได้ Copy กันไป Copy กันมา คิดว่าไม่ถือเป็นความผิดหรอก.. มันมีเส้นบางๆ ระหว่าง “ทำได้” กับ “ทำไม่ได้” ไม่ใช่ว่า พ.ร.บ. อิเล็กทรอนิกส์ เราอ่อนแอหรอกนะ เพราะคนกลุ่มที่ทำงานเขียนออนไลน์ มีน้อย และส่วนน้อยมากๆ ที่จะรู้สิทธิ์ของตัวเอง และลุกขึ้นมารักษาผลประโยชน์ของตัวเอง
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (*๑)
มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของไทย ประกาศวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 ร่างโดย สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเงื่อนไขที่นำผลงานไปใช้ได้ มี 4 เงื่อนไข คือ 1. ต้องอ้างอิงแหล่งที่มากลับถึงผู้เขียน 2. ถ้าจะเอาไป ต่อจากเว็บที่นำไป ต้องอ้างอิงกลับมาที่ Link ผู้เขียนต้นฉบับ อยู่ดี 3. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า ถ้านำไปใช้ต้องได้รับความยินยอมจากต้นฉบับ 4. ห้ามดัดแปลง ต้องใช้งานต้นฉบับเท่านั้นโดยไม่มีการดัดแปลงใดๆ ทั้งสิ้น |
ซึ่งลักษณะในข้อ 1.2 และ 2 นี้ แอดมินเจอบ่อยมาก ส่วนใหญ่ก็จะปล่อยผ่านไป เพราะมองดูแล้ว ด้านคุณ ที่เราจะได้รับมีมากกว่า เช่น เว็บเราจะอันดับ Up ขึ้นจาก Google แม้ว่าจะมีคนแห่ไปดูเว็บที่เอาของเราไปเยอะก็ตาม Google Robot จะยิ่งให้ความสำคัญกับบทความต้นฉบับมากที่สุด
ความผิดในส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะหมายถึง
ผิดหลัก Google – ทำให้ Rank ตกอันดับ
สิ่งที่เจ้าของบริษัทเว็บไซต์ต่างๆ แทบจะไม่รู้คือ การ Copy บทความอื่น จากเว็บอื่น มาไว้บนเว็บของตัวเอง แม้ว่าจะดัดแปลง รีไรท์ แต่มีถ้อยคำอักขระของต้นฉบับอยู่เกิน % ที่ Google กำหนด (เป็นลิขสิทธิ์ของ Google ที่ไม่ได้บอกเรา) จะทำให้ Priority หลักเวลา Google Robot จัดอันดับ จะยิ่ง ดัน ให้ เว็บต้นฉบับ ขึ้นเป็นเว็บคุณภาพ อยู่ในอันดับต้นๆ ของการ Search และ เสียดาย ที่กลุ่มคน Copy Press ไม่รู้ว่า งาน Copy ยิ่งมีอยู่บนเว็บมากๆ จะทำให้โครงสร้าง SEO ของ URL เว็บนั้นเสียไปเลย Google จะลดค่าความสำคัญของเว็บลักษณะ Copy Press ลง และยิ่งมีมาก อาจโดน Google Robot มองเป็น Spam
ดังนั้นสิ่งที่แอดมินไม่โอเค คือ ข้อ 1.2 Link เว็บ ที่บริษัทดังกล่าวนำไปดัดแปลงขึ้นเว็บไซต์ และมี Banner โฆษณา อยู่บนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งถือว่าจัดทำเพื่อการค้าขายธุรกิจ
กฎหมายลิขสิทธิ์บ้านเรายังไม่เคยพูดถึงการนำไปใช้เชิงธุรกิจ ในลักษณะเว็บไซต์ที่ติด Google Adword ให้มีการโฆษณาตามใจ Google เลย ซึ่งต้องอาศัยนักกฎหมายที่มีวิทยายุทธ์เรื่องลิขสิทธิ์ขั้นสูงที่จะต้องงัด กฎหมายอื่นๆ ขึ้นมาประกอบนิยาม “เชิงธุรกิจ” ตามที่เข้าใจกัน |
ตอนนี้ในหัวคิดไปหลายวิธี ว่าจะทำยังไงต่อดี
V
Way 1 ) ปรึกษาทนาย / ผู้รู้กฎหมาย
V
Way 2 ) ลงบันทึกประจำวันไหม? – ฟ้องไหม?
V
Way 3 ) แจ้งบริษัทที่ลงบทความ
V
Way 4 ) แจ้งคนที่ลงบทความ (หน้าเว็บมีชื่อ Writer ด้วย)
กฎหมายลิขสิทธิ์ (*๒)
ถ้าฟ้อง จะเกิดอะไรขึ้น กฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายอาญา .. อาญา คือ เป็นคดีความของแผ่นดิน (แต่เฉพาะกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ยอมความได้) .. ถ้าไปลงบันทึกประจำวันแล้วตำรวจรับฟ้องแล้ว คุณถอนแจ้งความไม่ได้ ตาม Step การดำเนินคดี – สืบสวน ต้องไปต่อ และสุดที่ศาล โทษจะหนักจะเบา ขึ้นอยู่กับว่า เขาเอางานของเราไปทำอะไร
กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับเต็ม >> 2537 กม ลิขสิทธิ์
- ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
- นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ มีขอบข่ายดังนี้
- ดัดแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย ต้องมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
- หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (๒)
ถ้าริอ่านจะเป็นนักเขียน ก็ต้องรู้กฎหมายลิขสิทธิ์เอาไว้ปกป้องตัวเองด้วย ลิขสิทธิ์เป็นของคุณ ไม่ว่าคุณจะทำงานให้บริษัทอะไรก็ตามแล้วมีสัญญาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในบริษัท ถือว่าผู้เขียนขึ้นมายินยอมให้บริษัทนำลิขสิทธิ์ไปใช้ได้ แต่ก็ไม่ถึงกับว่า ยกลิขสิทธิ์เป็นของบริษัทได้
บริษัทมีสิทธิ์ที่จะนำ “งานเขียน” ของเราไปใช้ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์หลักยังเป็นของคุณ อย่างเคสของผู้เขียนเอง ทางบริษัทไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่คุ้มค่าเสียเวลา แต่ผู้เขียนเองไม่โอเคให้นักเขียนรุ่นน้องหรือใครก็ตาม ทำงานแบบ Copy Press มันดูเหมือน การจ้างคนที่ขี้เกียจมาทำงาน และเป็นการทำงานแบบไร้ความรับผิดชอบ ..ต้องมาดูกันว่าเราเรียกร้องได้มากน้อยแค่ไหน |
สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ คุ้มครอง และไม่คุ้มครอง (*๓)
กฎหมายลิขสิทธิ์ ปี 2537 ไม่ครอบคลุม ชื่อเรื่อง แนวความคิด ข้อมูล สถิติ ข่าว หรือบทบัญญัติของกฎหมาย ถือเป็นสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (๓) แต่จะคุ้มครอง งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
- ลิขสิทธิ์ด้านงานเขียน เป็นของผู้เขียน ตั้งแต่สร้างสรรค์ผลงาน ไม่ต้องเอาไปจดทะเบียน (ถ้างั้นปั้น ฯลฯ ต้องจด)
- ลิขสิทธิ์ด้านงานเขียน เป็นของผู้เขียน นับตั้งแต่สร้างสรรค์ผลงาน จนหมดลมหายใจ และ บวกไปอีก 50 ปี หลังจากนั้นแล้วจะตกเป็นของแผ่นดิน (เช่นเดียวกับ Case ของสุนทรภู่)
- งานเขียนที่ได้รับความคุ้มครองต้องเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
แอดมินดันเขียนข้อควรรู้เกี่ยวกับธนาคาร
ทีนี้ ผู้เขียนได้ตรวจสอบ ตาม Way ที่ 1 -4 แล้ว พบว่า
- งานเขียนของผู้เขียน ดูเป็นไปในลักษณะข่าว ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ปี 2537 อาจจะไม่คุ้มครอง
- ถ้าลงบันทึกประจำวันฟ้องร้องแล้ว ตำรวจรับเรื่อง จะถือเป็นเรื่องอาญาแผ่นดินทันที ที่ตำรวจต้องตรวจสอบ
ถ้าโดนละเมิดลิขสิทธิ์แล้วต้องทำยังไง – อายุความ
1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า งานของเราก็ไม่ได้เผลอติดศัพท์ลอกคำใครมา และ มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเราเป็นต้นฉบับ
2. ผู้เขียน เจ้าของผลงาน สามารถโทรแจ้ง กับ บริษัท หรือ เจ้าตัวผู้ทำผิดได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งความ หรือเรียกค่าเสียหายตามตกลง
3. ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ต้องทำหนังสือให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาช่วยไกล่เกลี่ย (ไม่เสียเงิน)
4. ถ้ารู้ตัวว่าโดนละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน เพราะอายุความอยู่ในระหว่าง 3 – 10 ปี นับจากรู้ตัวผู้กระทำผิด
5 . สามารถฟ้องแพ่งและอาญาได้
บทกำหนดโทษของ กม. ลิขสิทธิ์
บทกำหนดโทษของ กม. ยาเสพติดให้โทษ
อ้างอิง *
- เรื่อง สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C
- เรื่อง กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
- เรื่องคู่มือลิขสิทธิ์สำหรับนักเขียน http://stang.sc.mahidol.ac.th/ait/blog/wp-content/uploads/2011/05/handbook-writer.pdf
บริษัท สำนักกฏหมายธรรมนิติ จำกัด
เลขที่ 2/2 อาคารภักดี ชั้น 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ (66) 2680 9777 โทรสาร (66) 2680 9711 อีเมล info@dlo.co.th
Creative Commons License เว้นแต่ระบุเงื่อนไขไว้เป็นอย่างอื่น เฉพาะงานสร้างสรรค์ของเว็บนี้ อนุญาตให้นำไปใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า ๓.๐
8 Comments