นิสัยของคน 8 GEN

วันนี้เราไปเจอบทความดีๆ จากเว็บไซต์พันทิป เกี่ยวกับพฤติกรรมของคน 8 Generation ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก เพราะรอบกายของเรามีคนหลากหลายประเภท  แต่ถ้าเราเข้าใจพื้นฐานของคนแต่ละประเภทเราก็จะอยู่รวมกันได้อย่างไม่มีปัญหา

อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้หญิงยุคใหม่เป็นเวิร์กกิ้งวูแมนมากขึ้น สนใจเรื่องการทำงานมากกว่าคิดจะมีครอบครัว สาวโสดก็เลยครองเมืองกันเพียบ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างประชากรไทยกำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป และดูเหมือนว่า ในอนาคตเราอาจจะเผชิญกับสภาวะที่ขาดแคลนแรงงานก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว โครงสร้างของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจในช่วงนั้นที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และคนในแต่ละยุค แต่ละสมัยก็จะมีพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความรู้ความสามารถ ค่านิยม การบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป ทางสหรัฐอเมริกา และโลกตะวันตก จึงได้จัดแบ่งกลุ่มคนออกเป็นรุ่นต่าง ๆ 8 เจเนอเรชั่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกณฑ์การจัดแบ่งรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันไปทั่วโลกด้วย
…ลองไปตรวจสอบกันดูซิว่า ครอบครัวของคุณ และตัวคุณเอง อยู่ในรุ่นไหนบ้าง และมีอุปนิสัยคล้ายกับข้อมูลต่อไปนี้หรือไม่

1. Lost Generation
ประชากรยุคแรกที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426-2443 หรือในช่วงทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว จึงถูกตั้งชื่อว่า “Lost Generation” เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนยุคนี้ก็คือ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

2. Greatest Generation
Greatest Generation หรือที่รู้จักกันว่า G.I. Generation คนกลุ่มนี้เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2444-2467 คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาจึงกลายมาเป็นกำลังหลักของการต่อสู้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสงบ เกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก คนรุ่นนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง
ผู้คนในยุคนั้นจะมีความเป็นทางการสูง ผู้ชายจะใส่สูทผูกเนคไทเมื่อออกจากบ้าน คนในสังคมจะมีแบบแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความคิด ความเห็น ความเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมั่นรัฐบาล อำนาจรัฐ มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองร่วมกัน

3. Silent Generation
หมายถึงคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 ประชากรรุ่นนี้จะมีไม่มากเท่ารุ่นอื่น ๆ เพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องทำงานหนักในโรงงาน หามรุ่งหามค่ำ คนรุ่นนี้จึงมีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อนายจ้าง และประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มออกมาทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น กระทั่งเวลาผ่านไป เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คนในรุ่นนี้จึงได้รับโอกาสมากขึ้น มีช่องทางการสร้างกิจการของตัวเอง รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นรากฐานจนถึงปัจจุบันนี้

4. เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer)
เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือ Gen-B หมายถึงคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2507 หรือในยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุ ที่เรียกว่า “เบบี้บูมเมอร์” ก็เพราะว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง บ้านเมืองที่ผ่านการสู้รบได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชากรที่เหลืออยู่ในแต่ละประเทศจึงต้องเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็ง แกร่งมั่นคงอีกครั้ง แต่ทว่า…สงครามที่ผ่านพ้นไปก็ได้คร่ากำลังพล และแรงงานไปเป็นจำนวนมาก ประเทศเหล่านี้จึงขาดแรงงานในการขับเคลื่อน ประเทศ คนในยุคนั้นจึงมีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลาย ๆ คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของคำว่า “เบบี้บูมเมอร์” นั่นเอง
ปัจจุบันนี้ คนยุคเบบี้บูมเมอร์คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป และเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา มีความอดทนสูง ทุ่มเทให้กับการทำงานและองค์กรมาก สู้งาน พยายามคิดและทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นเจ้าคนนายคน ถูกครอบครัวสั่งสอนมาให้เป็นคนประหยัด อดออม จึงมีการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง คน ในยุคอื่น ๆ อาจจะมองคนยุคเบบี้บูมเมอร์ว่าเป็นพวก “อนุรักษนิยม” เป็นคนที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คนกลุ่มนี้ถือว่าน่าจะมีจำนวนมากที่สุดในสังคมปัจจุบันเลยทีเดียว
เหตุการณ์สำคัญที่คนในรุ่นนี้เคยประสบ หรือเคยได้ยินก็คือ ข่าวความสำเร็จของการส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ ข่าวการทำสงครามเวียดนาม เป็นต้น

5. เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ (Generation X)
หลัง จากยุคเบบี้บูมเมอร์ส่งผลให้เด็กเกิดมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนจึงกลับมานั่งคิดว่า หากไม่ควบคุมอัตราการเกิดไว้ สุดท้ายแล้วคนทั้งโลกก็จะขาดแคลนอาหาร ดังนั้น จึงเกิดเป็นยุค “เจเนอเร ชั่น เอ็กซ์” (Generation X) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Gen-X” ที่เป็นกระแสตีกลับจากยุคเบบี้บูมเมอร์ มีการควบคุมอัตราการเกิดของประชากร อย่างเช่นในประเทศจีนก็มีการรณรงค์ให้คนมีลูกได้เพียง 1 คนเท่านั้น
คนยุคนี้จะเกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522 อาจเรียกอีกชื่อว่า “ยับปี้” (Yuppie) ที่ย่อมาจาก Young Urban Professionals เพราะ เกิดมาพร้อมในยุคที่โลกมั่งคั่งแล้ว จึงใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของวิดีโอเกม, คอมพิวเตอร์, สไตล์เพลงแบบฮิปฮอป และอาจทันดูทีวีจอขาวดำด้วย
ปัจจุบัน คนยุค Gen-X เป็นคนวัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปแล้ว พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ที่เด่นชัดมากก็คือ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work–life balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตาม หลายคนใน Gen-X มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และ ไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นมองว่าการอยู่ก่อนแต่ง หรือการหย่าร้างก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับเรื่องเพศที่ 3 ซึ่งต่างจากกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มองเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องผิดจารีตประเพณี เป็นอย่างยิ่ง

6. เจเนอเรชั่น วาย (Generation Y)
ถัดจากยุค Gen-X ก็คือ ยุคเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ ยุค Millennials ซึ่งก็คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523–2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย กับ รุ่นพ่อแม่ แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย
ยุคนี้จะเป็นยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้พ่อแม่ที่ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วจะดูแลเอาใจใส่ลูก ๆ เป็นอย่างดี เด็กยุคนี้จึงมักจะถูกตามใจตั้งแต่เด็ก ได้ในสิ่งที่คนรุ่นพ่อแม่ไม่ค่อยได้ มีการศึกษาดี มีลักษณะนิสัยชอบการแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบถูกบังคับให้อยู่กรอบ ไม่ชอบอยู่ในเงื่อนไข ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีอิสระในความคิด กล้าซัก กล้าถามในทุกเรื่องที่ตัวเองสนใจ ไม่หวั่นกับคำวิจารณ์ มีความเป็นสากลมาก มองว่าการนิยมชมชอบวัฒนธรรม หรือศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องธรรมดา
ปัจจุบัน คนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่น iPad ไปด้วย คุยโทรศัพท์ไปด้วย แถมบางคนยังกินข้าวไปพร้อม ๆ กันด้วยอีกต่างหาก
ในเรื่องการทำงาน คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วย งานอย่างไร และชอบทำงานเป็นทีม ต่างจากกลุ่ม Gen-X ที่ชอบวันแมนโชว์มากกว่า เพราะคนในวัย Gen-X จะถูกฝึกมาแบบนั้น ต่างจากวัย Gen-Y ที่เติบโตมาพร้อมกับการประชุม การระดมความคิดเห็น แต่ทว่าคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยอดทนเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่นัก หวังที่จะทำงานได้เงินเดือนสูง ๆ แต่ไม่อยากไต่เต้าจากการทำงานข้างล่างขึ้นไป คาดหวังในการทำงานสูง ต้องการคำชม กลุ่ม Gen-Y มักจะจัดสรรเวลาให้งานและชีวิตส่วนตัวในจุดที่สมดุลกัน พอหลังเลิกงานอาจไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น ไปเล่นฟิตเนส ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง จะไม่ค่อยหมกมุ่นอยู่กับงานเหมือนกับคนรุ่นก่อน
นอกจากนี้ กลุ่ม Gen-Y จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีใจช่วยเหลือสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับพ่อแม่

7. เจเนอเรชั่น ซี (Generation Z)
Gen-Z คือ คำนิยามล่าสุดของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป เทียบ อายุแล้วก็คือวัยของเด็ก ๆ นั่นเอง เด็ก ๆ กลุ่ม Gen-Z นี้ จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อม มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้ได้เร็ว เพราะพ่อแม่ใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งหนึ่งที่เด็กรุ่น Gen-Z แตกต่างจากรุ่นอื่น ๆ สมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่ก็คือ เด็กรุ่นนี้จะ ได้เห็นภาพที่พ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ ต่างจากรุ่นก่อน ๆ ที่อาจจะมีพ่อออกไปทำงานคนเดียว ด้วยเหตุผลนี้ เด็ก Gen-Z หลาย ๆ คนจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง
และนอกจาก 7 เจเนอเรชั่นที่บอกไปแล้ว ปัจจุบันนี้ยังมีคำนิยามเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม แต่ไม่ได้จัดอยู่ร่วมกับ 7 เจเนอเรชั่นข้างต้น คือ กลุ่ม “Gen-C” เป็นคำใหม่ที่ Google และ Nielsen บัญญัติ ใช้สำหรับเรียกกลุ่มคนยุคใหม่ที่ไม่ได้แบ่งตามอายุเหมือน 7 เจเนอเรชั่นข้างบน แต่จัดกลุ่มตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ทั้งนี้ คนที่จะถูกจัดเข้ากลุ่ม Gen-C นั้น ก็คือคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง หันมาสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น ไปจนถึงขั้นเสพติดการเชื่อมต่อ แต่ไม่รวมคนกลุ่ม Gen-Y เป็นพวก Gen-C ด้วย นั่นเพราะคนกลุ่ม Gen-Y ปกติก็จะมีการเชื่อมต่อโลกไร้สายเป็นประจำอยู่แล้ว ต่างกับคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่ในอดีตแทบไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีมากขึ้น พฤติกรรมของคนเหล่านี้จึงต้องเปลี่ยนไปตามโลก
สำหรับคน Gen-C นั้น จะมีนิสัยที่เห็นเด่นชัดมาก ๆ คือ จะมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา มีการอัพเดทข้อมูล สนใจข่าวสารที่ได้รับรู้มาในโลกไซเบอร์ พร้อมจะแชร์ต่อทุกเมื่อ ติดตามดูคลิปในยูทูบมากกว่านั่งดูโทรทัศน์ เหมือนกับสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของตัวเองไปแล้ว และคนกลุ่มนี้ก็ยังกลายมาเป็นผู้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ ๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม คนกลุ่ม Gen-C นี้ แม้จะชอบโพสต์ข้อความมากมาย แต่ก็จะโพสต์ด้วยความระมัดระวังกว่าคน Gen-Y ที่อาจจะโพสต์ตามอารมณ์มากกว่า ต่างกับคน Gen-C ที่จะโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ
ถ้าเราลองเหลียวมองไปรอบ ๆ ตัว เราก็จะได้พบกับคนรุ่นต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือ Baby Boomer, Gen-X, Gen-Y และ Gen-Z ซึ่งนักการตลาด นักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากทีเดียว เพราะจะช่วยทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจบุคคลในวัยต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ส่วนตัวเราเอง การได้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว และลดช่องว่างในสังคมการทำงานได้ดีเลยล่ะ ^^

(ที่มา : kapook.com)

Gen2

ตามหลักสากล จะมีการแบ่งกลุ่มคนทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม (Generation) คือ Baby Boomer Generation X และ Generation Y ซึ่งแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน
Baby Boomer คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2507 อายุ 44 – 62 ปี จะเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการ ทำงานและองค์กรมาก คนกลุ่มนี้จะไม่เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากมีความ จงรักภักดีกับองค์กรอย่างมาก

Generation X คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 อายุ 29-43 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการให้ความ สำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง

Generation Y คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2543 อายุ 8-28 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่ม เข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และไม่ชอบเงื่อนไข คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการ ทำงานว่า สิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร อีกทั้งยังมีความ สามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
ในบางแหล่งข้อมูล แบ่งแยกออกเป็น 4 กลุ่ม โดยผสานแนวคิด วิธีการ ในการทำงานร่วมกัน “แค่เข้าใจ … ทุกอย่างก็ลงตัว”
หนึ่งในสาเหตุของความเครียดในที่ทำงาน คือ การที่คนหลายรุ่นหลายวัยหลายความคิด ต้องมาทำงานร่วมกัน ความแตกต่างระหว่างเลขวัยที่สัมพันธ์กับเลขไมล์ของประสบการณ์ มักนำมาซึ่งความไม่เข้าใจกัน..จนก่อตัวเป็นความขัดแย้งในที่สุด
บางทีความแตกต่าง คือ กุญแจแห่งความสำเร็จ เพียงขอให้เปิดใจทำความรู้จักคนแต่ละรุ่นให้ลึกซึ้งก็จะได้พบโลกใบใหม่ที่งดงาม หลากหลาย และหากเลือกที่จะสื่อสารได้อย่างถูกช่องถูกกลุ่ม ก็อาจจะได้อะไรใหม่ ๆ คาดไม่ถึง
ใครเป็นใครในที่ทำงาน

เราจะแบ่งรุ่นของคนทำงานในที่ทำงานให้ชัดๆ ก่อน โดยจำแนกจากช่วงปีเกิด ซึ่งจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ในช่วงเติบโต ทำให้เห็นยุคสมัยที่หล่อหลอมความคิดของพวกเขาได้ชัดเจนขึ้น

กลุ่มลายคราม : คนที่เกิดก่อนปี 2488
ลาย คราม…ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นพนักงานวัยใกล้เกษียณ คนกลุ่มนี้จะมีผู้คนนับหน้าถือตามากมาย อันเนื่องมาจากประสบการณ์การทำงานอันยาวนานของพวกเขานั่นเอง คนกลุ่มนี้จะเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ จึงเติบโตมาท่ามกลางสภาพบ้านเมืองที่มีทรัพยากรที่จำกัด ทำให้รู้จักคุณค่าของเงิน มักมีคุณลักษณะที่มั่นคงเชื่อใจได้ สู้งานหนัก ใช้จ่ายอย่างรู้คิด และภักดีต่อองค์กรสูง

กลุ่ม Baby Boom : คนที่เกิดช่วงปี 2489 – 2507
หลังสงครามยุติ ประเทศเข้าสู่ความสงบ การรณรงค์คุมกำเนิดยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดพลเมืองตัวน้อย ๆ ขึ้นมากมาย Baby Boom เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกับคนวัยเดียวกันเพื่อให้ได้งาน ยิ่งเมื่อประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ยุคความเป็นอุตสาหกรรม Baby Boom ก็ยิ่งจำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้น เต็มเหยียดวันละ 8 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์
ลูกจ้าง Baby Boom มักเคยชินต่อการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อให้นายจ้างยอมรับในศักยภาพ การจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใหญ่นั้น ต้องใช้เวลาและแรงผลักดันอย่างสูง

กลุ่ม Generation–X : คนที่เกิดช่วงปี 2508 – 2523
Generation–X ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้สำเร็จ ของเล่นสุดฮิตของเด็กรุ่นจึงไม่ใช่ม้าโยก หรือตุ๊กตาหมีอีกต่อไป แต่เป็นวิดีโอเกม เกมกด และ Walkman พวกเขาเติบโตมาในยุครอยต่อของ Analog กับ Digital อยู่ ท่ามกลางเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ ทว่าที่สังคมเปลี่ยนแปลงในทางวัตถุนี้ กลับทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน ความภักดีต่อองค์กรของคนรุ่นนี้จึงคลายลงมาก นำมาสู่การลาออก และเปลี่ยนงานเป็นว่าเล่น
ไม่แปลกที่ชาว Baby Boom ผู้ไม่เคยเกี่ยงที่จะทำโอทีจนดึกดื่น จะอึ้งที่ชาว Generation–X ปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา หรือลาออกไปหางานใหม่หน้าตาเฉยหากไม่พอใจ ทั้งนี้เพราะ Generation–X เชื่อว่างานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต

กลุ่ม Millennium : คนที่เกิดปี 2524 เป็นต้นมา
Millennium คือ กลุ่มคนทำงานหน้าใหม่ไฟแรง แต่ยังอ่อนต่อประสบการณ์ บางคนอาจยังเรียนไม่จบเสียด้วยซ้ำ หรือบางคนมีแผนที่จะเรียนต่อ ชาว Millennium โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการศึกษาที่เริ่มให้ความสำคัญกับการคิดมากกว่าการท่องจำ
ชาว Millennium จะมีพ่อแม่ที่มีความรู้สูง จึงให้การสนับสนุนให้ Millennium ได้เสริมทักษะด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก ฉะนั้น Millennium จึงชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และสนุกกับการทำงานเป็นทีม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และไม่ชอบเงื่อนไข
ในขณะที่ ชาว Generation-X เปลี่ยนงานครั้งที่ 12 เพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงกินเงินเดือนเรือนแสน แต่ชาว Millennium จะลาออกไปเริ่มธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเอง

สลายช่องว่างสร้างความเข้าใจ
เมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า ใครมีค่านิยมในชีวิตอย่างไร ใคร ๆ ก็สามารถสร้างสะพานข้ามช่องว่าง เพื่อข้ามไปหากันได้ สูตรสร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างวัยมีอยู่ 3 ขั้นตอน
1. เข้าใจถึงความแตกต่าง ยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน คนที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติต่อชีวิตไม่เหมือนคุณ เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป
2. ชื่นชมจุดดี แทนที่จะต่อต้าน ให้เราลองมองหาจุดเด่นของคนในแต่ละกลุ่มให้พบ
3. บริหารความแตกต่าง เปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มที่เราต้องทำงานด้วย

ทำงานกับกลุ่มลายคราม
จงให้เกียรติและให้ความเคารพอย่างสูงต่อพวกเขา เมื่อคุณให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติคุณ แล้วถ้าบังเอิญคุณมีตำแหน่งสูงกว่าพวกเขา จงแสดงความชื่นชมต่อเขาในด้านการเป็นเสาหลักขององค์กร และจงรับฟังเมื่อพวกเขาถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต การต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจนผ่านพ้นความยากลำบากมาได้ เพราะสิ่งนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มี และไม่รู้จัก อย่ามองว่า..กลุ่มลายครามคือ หมาล่าเนื้อไม่มีที่ไป แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณนั้น เป็นเพราะพวกเขา เชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และถือความซื่อสัตย์เป็นที่สุด

ทำงานกับกลุ่ม Baby Boom
จงแสดงความนับถือ รับฟัง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Baby Boom แล้วพยายามปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจแค่ไหน หรือคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใด คุณก็ยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะ Baby Boom ให้ความสำคัญต่อหลักการทำงาน ยึดถือวัฒนธรรมองค์กร และเห็นคุณค่าต่อการทำงานอย่างทุ่มเท หากต้องทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งบริหารงานโดย Baby Boom ควรพยายามเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรเสียก่อนว่ามีการเจริญเติบโตมาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ Baby Boom

ทำงานกับกลุ่ม Generation–X
ต้องพูดให้กระชับ ชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะ Generation–X ชอบความตรงไปตรงมา คุณสามารถใช้ Email กลับคนกลุ่มนี้ได้ หากคุณสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย หากเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ควรพูดต่อหน้า เพราะ Generation–X ไม่ชอบถูกบงการ ผู้ใหญ่แค่ให้นโยบายกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด ส่วน Baby Boom ควรลดความคาดหวังต่อ Generation–X ในการทำงานหนักอย่างหนักโดยไม่มีวันหยุด หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ อย่างรุ่นตน เพราะ Generation–X ต้องการชีวิตที่สมดุล ไม่ชอบการอยู่ติดที่

ทำงานกับกลุ่ม Millennium
ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ ๆ Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขา ก็จะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน Millennium ชอบให้คุณแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก
แค่เข้าใจ..ทุกอย่างก็ลงตัว

(ที่มา Adecco Thailand)

ที่มาจากกระทู้ “นิสัย ของคน 8 GEN มาดูกัน คน 8 เจเนอเรชั่น คุณอยู่ในกลุ่มไหนกัน ? + ปัญหาระหว่างคนทำงาน 3 Generation จะแก้อย่างไร?”

Advertisement

5 Comments

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s